การออกแบบกรอบตัวอย่างและวิธีการเลือกตัวอย่าง (สำรวจภาวะการทำงานของประชากร)
โครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร (สรง.) เป็นโครงการสำรวจตัวอย่าง จัดทำทุกปี ปีละ 4 รอบ (4 ไตรมาส) กระจายงานแจงนับเป็นรายเดือน เพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอสำหรับการนำเสนอผลการสำรวจเป็นไตรมาส โดยมีการกำหนดขนาดตัวอย่างให้เพียงพอต่อการเสนอผลการสำรวจในระดับจังหวัด (ไม่จำแนกเขตการปกครอง) ส่วนในระดับภาคและระดับทั่วประเทศ เสนอผลการสำรวจจำแนกเขตการปกครอง คือ ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล สำนักงานสถิติแห่งชาติได้นำวิธีการเลือกตัวอย่างแบบ Rotation Sampling มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มคุณภาพตัวประมาณ ในโครงการ สรง. ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 - 2554 และปี พ.ศ. 2555 – 2564 โดยรอบปัจจุบันสำหรับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 - 2574 แผนการเลือกตัวอย่างแบบ Rotation รอบปัจจุบัน ได้มีการแบ่ง EA ตัวอย่าง ออกเป็น 10 ชุด (EA set) โดยโครงการ สรง. แต่ละปี กำหนดให้ใช้ EA ตัวอย่าง ในการปฏิบัติงานจำนวน 2 ชุด หรือ 2 EA set และในแต่ละ EA ตัวอย่าง กำหนดให้เลือกครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่าง จำนวน 10 ชุดครัวเรือน คือ ชุด A B C D E F G H I และ J สำหรับโครงการ สรง. ใช้ชุดครัวเรือนตัวอย่าง จำนวน 4 ชุด คือ A B C D การสำรวจนี้ กำหนดให้ใช้แผนการเลือกตัวอย่างแบบ Stratified Two - Stage Sampling โดยมีเขตแจงนับ (Enumeration Area : EA) เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง ครัวเรือนส่วนบุคคลและสมาชิกในครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทครัวเรือนคนงาน เป็นหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง กรอบตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง กำหนดให้ใช้บัญชีเขตแจงนับ (EA) ที่บันทึกข้อมูลโครงการสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553 และมีการปรับปรุงข้อมูลจากการนับจด (listing) ครัวเรือน โครงการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือน (สพค.) เป็นประจำทุกปี สำหรับการเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่หนึ่ง กำหนดให้เลือก EA ตัวอย่าง ในแต่ละจังหวัดจำแนกตามเขตการปกครองอย่างอิสระต่อกัน โดยให้ความน่าจะเป็นในการเลือกเป็นปฏิภาคกับจำนวนครัวเรือนของ EA นั้นๆ กรอบตัวอย่างขั้นที่สอง กำหนดให้ใช้บัญชีรายชื่อครัวเรือนส่วนบุคคลและครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทครัวเรือนคนงาน ที่ได้จากการนับจด โครงการ สพค. สำหรับการเลือกหน่วยตัวอย่างขั้นที่สอง กำหนดให้เลือกครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่าง ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ ในกรณีของครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทครัวเรือนคนงาน ในขั้นนี้เป็นการเลือกสมาชิกตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทครัวเรือนคนงานทุกครัวเรือน ในแต่ละ EA ตัวอย่าง ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ โดยใช้ช่วงของการสุ่มครัวเรือนตัวอย่างเดียวกันกับที่ใช้ในการเลือกครัวเรือนส่วนบุคคลตัวอย่างของแต่ละชุดครัวเรือน
Resource Info : ${cur_meta.name}
Download Go to resourceResource last updated date | ${cur_meta.last_modified} |
Resource creation date | ${cur_meta.created} |
Resource format | ${cur_meta.mimetype} |
Resource ID | ${cur_meta.id} |
Description | ${cur_meta.ori.description} |
Accessible Condition | ${cur_meta.ori.resource_accessible_condition} |
Data Collect | ${cur_meta.ori.resource_data_collect} |
${cur_meta.ori.resource_data_collect_other} | |
Created date | ${cur_meta.ori.resource_created_date} |
Last updated date | ${cur_meta.ori.resource_last_updated_date} |
Additional Info
Data Key | cb5f5908-dce2-4a7a-aa76-df0e41a2a134 |
---|---|
Tags |
การทำงาน
การออกแบบ LFS GSBPM
ตัวอย่าง
ทำงาน
ภาวะการทำงาน
วิธีการเลือกตัวอย่าง
ออกแบบกรอบตัวอย่าง
โครงการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร
|
Visibility | Public |
Dataset create date | June 23, 2022 |
Maintain date | November 22, 2022 |
Data Type | ข้อมูลประเภทอื่นๆ |
เอกสาร | |
Contact Person | กลุ่มระเบียบวิธีสถิติ |
Contact Email | method@nso.mail.go.th |
Objective | พันธกิจหน่วยงาน |
Update Frequency Unit | ปี |
Update Frequency Interval | 1 |
Geo Coverage | ประเทศ |
Data Source | การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร |
Data Format | |
Data Category | ข้อมูลสาธารณะ |
License | License not specified |
Accessible Condition | ไม่มี |
Data Support | ไม่มี |
Data Collect | บุคคล |
URL | http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/แรงงาน/ภาวะการทำงานของประชากร.aspx |
Data Language | ไทย |
Created date | 2022-03-01 |
Last updated date | 2022-03-29 |
Reference Data | No |
High Value Dataset | Show |
Showcases
Related
จำนวนใบอนุญาตผลิตไพ่
• เป็นรัฐวิสาหกิจไทย กรณีเป็นรัฐวิสาหกิจไทย ต้องมีวัตถุประสงค์ในการผลิตและ จำหน่ายไพ่ • เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กรณีเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย...