โรงงานน้ำตาล - CKAN

โรงงานน้ำตาล

องค์กร : nakhonsawan

พลังงานที่ใช้ในโรงงานน้ำตาลมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 ไอน้ำได้แก่ พลังงานความร้อนซึ่งอยู่ในรูปไอน้ำและน้ำร้อน ผลิตจากหม้อน้ำ (Boiler) โดยพลังงานที่อยู่ในรูปไอน้ำจะถูกใช้ไปในกระบวนการผลิตตั้งแต่การหีบอ้อยโดยใช้ในช่วงการเตรียมอ้อยก่อนเข้าหีบ ขับชุดหีบ การทำใสน้ำอ้อยโดยจะใช้พลังงานจากไอน้ำด้วยการผ่านเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน และการต้มเคี่ยวน้ำเชื่อม สำหรับพลังงานในรูปแบบที่ 2 คือ พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดยใช้ไอน้ำในการขับกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั่นเองในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงพลังงานไอน้ำในโรงงานน้ำตาล การผลิตไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาล และการแบ่งแยกกลุ่มของโรงงานน้ำตาลจากการแบ่งส่วนการผลิตไอน้ำและการผลิตไฟฟ้า

  • ไอน้ำในโรงงานน้ำตาล

    การผลิตไอน้ำเพื่อใช้เป็นพลังงานในโรงงานน้ำตาลนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกโรงงานต้องให้ความสำคัญ อุปกรณ์หลักที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไอน้ำ คือ หม้อน้ำ (Boiler) ระบบส่งจ่ายไอน้ำ และระบบควบคุม เป็นที่ทราบกันดีว่าโรงงานน้ำตาลใช้ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ และมีปริมาณชานอ้อยมากเพียงพอที่จะใช้ผลิตไอน้ำในโรงงานได้ตลอดทั้งฤดูการผลิตน้ำตาล และด้วยเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน การดูแลและบำรุงรักษาที่เหมาะสมด้วยการอนุรักษ์พลังงานอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้เกิดการใช้ชานอ้อยเพื่อการผลิตไอน้ำได้มากขึ้นจนสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้นอกฤดูหีบและเพียงพอสำหรับการจำหน่ายให้กับผู้ใช้ไฟฟ้านอกโรงงาน หรือจำหน่ายกลับไปให้กับการไฟฟ้าได้ด้วย

    ในการผลิตน้ำตาลนั้นต้องการไอน้ำดี (Live Steam) ความดันระหว่าง 20-30 bar อุณหภูมิประมาณ 350-370 องศาเซลเซียส สำหรับจ่ายให้อุปกรณ์ต้นกำลัง ได้แก่ กังหันไอน้ำเพื่อผลิตกำลังกลขับชุดใบมีดตัดอ้อยและลูกหีบ ไอดีหลังจากถูกใช้งานที่อุปกรณ์ต้นกำลังแล้ว จะลดคุณภาพเป็นไอน้ำเสีย (Exhaust Steam) ซึ่งเป็นไอน้ำอิ่มตัว มีความดันประมาณ 1.5 bar จะถูกนำไปใช้ที่หม้อต้มและหม้อเคี่ยว ไอน้ำสำหรับหม้อเคี่ยวแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกได้จากไอน้ำเสีย อีกส่วนหนึ่งได้จากหัวหม้อต้ม(น้ำเชื่อมเดือดจนเกิดไอน้ำ) โดยไอน้ำจากหัวหม้อต้มจะถูกใช้ในการอุ่นน้ำอ้อยเพื่อเพิ่มอุณหภูมิน้ำอ้อยให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อนำไปผสมกับน้ำด่างในกระบวนการทำใส หลังจากใช้งานแล้ว ไอน้ำเสียจะผ่านเครื่องควบแน่นกลั่นตัวเป็นน้ำและนำกลับไปใช้ที่หม้อน้ำ(Boiler)ต่อไป [3]

  • การผลิตไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาล

    จากกระบวนการที่กล่าวมาข้างต้นในหัวข้อ “ไอน้ำในโรงงานน้ำตาล” จะเห็นว่า ความดันไอน้ำที่เหมาะสมที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลนั้นไม่สูงมากนักอยู่ระหว่าง 20-30 bar ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลจากการสำรวจโรงงานน้ำตาลในพื้นที่ภาคเหนือ พบว่า หม้อน้ำ(Boiler)ในโรงงานไฟฟ้าซึ่งก่อตั้งโดยโรงงานน้ำตาลปัจจุบันผลิตความดันไอน้ำอยู่ระหว่าง 20-110 bar [4] ข้อสังเกตคือ ขนาดความดันไอน้ำที่สูงกว่า 30 bar นั้นมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้นเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าในปัจจุบันจึงถูกนำมาพัฒนาใช้ในโรงงานน้ำตาล

    ชานอ้อยเป็นเชื้อเพลิงที่จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อเพลิงชีวมวลชนิดหนึ่ง เมื่อถูกนำมาใช้ในการผลิตพลังงาน จะถูกนำมาใช้เผาไหม้โดยตรง (Direct Fired) ที่หม้อน้ำ (Boiler) เพื่อให้ได้ไอน้ำความดันตามที่กำหนด จากนั้นจะถูกส่งไปยังกังหัน (Turbine) เพื่อปั่นกังหันซึ่งต่ออยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าให้ได้กระแสไฟฟ้าออกมา โรงไฟฟ้าในโรงงานน้ำตาลจึงสามารถใช้ประโยชน์จากไอน้ำไปในขั้นตอนการผลิตน้ำตาลควบคู่กับการผลิตไฟฟ้าร่วมกันหรือเรียกว่า“ระบบผลิตพลังงานร่วม (Cogeneration)” ซึ่งเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพภาพในการใช้เชื้อเพลิงสูง

ข้อมูลทรัพยากร : ${cur_meta.name}

ดาวน์โหลด ไปสู่ทรัพยากร
วันที่ปรับปรุงไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog ${cur_meta.last_modified}
วันที่สร้างไฟล์/ลิงก์ข้อมูลใน catalog ${cur_meta.created}
รูปแบบของไฟล์ชุดข้อมูล ${cur_meta.mimetype}
รหัสทรัพยากรข้อมูล ${cur_meta.id}
รายละเอียด ${cur_meta.ori.description}
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล ${cur_meta.ori.resource_accessible_condition}
ปีที่เริ่มต้นจัดทำเนื้อหาข้อมูล ${cur_meta.ori.resource_first_year_of_data}
ปีล่าสุดที่จัดทำเนื้อหาข้อมูล ${cur_meta.ori.resource_last_year_of_data}
การจัดจำแนก
  • ${ele}
${cur_meta.ori.resource_disaggregate_other}
หน่วยวัด ${cur_meta.ori.resource_unit_of_measure}
หน่วยตัวคูณ ${cur_meta.ori.resource_unit_of_multiplier}
${cur_meta.ori.resource_unit_of_multiplier_other}
วันที่ปรับปรุงเนื้อหาข้อมูลล่าสุด ${cur_meta.ori.resource_last_updated_date}
วันที่เผยแพร่เนื้อหาข้อมูล ${cur_meta.ori.resource_data_release_calendar}
สถิติทางการ ${cur_meta.ori.resource_official_statistics=='True'?'ใช่':'ไม่ใช่'}
Data source cannot be displayed.
ข้อมูลทั้งหมด ${cur_meta.data.total.toLocaleString()} 0 รายการ
 100 500 1,000 รายการ

ข้อมูลเพิ่มเติม

รหัสชุดข้อมูล 4eac8e3c-d332-43ec-8266-5699b73ed5b5
แท็ค
อ้อย โรงงานน้ำตาล
ระดับในการเข้าถึงข้อมูล สาธารณะ
วันที่สร้าง metadata 14 มิถุนายน 2565
วันที่ปรับปรุง metadata 25 พฤศจิกายน 2567
ประเภทชุดข้อมูล ข้อมูลสถิติ
ชื่อฝ่ายงานสำหรับติดต่อ กลุ่มนโยบายและแผนงาน
อีเมลสำหรับติดต่อ nakhonsawan.industry@gmail.com
วัตถุประสงค์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล ปี
ค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล (ความถี่น้อยที่สุด) 1
ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่ อำเภอ
แหล่งที่มา สำรวจรวบรวมแบบคำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนครสวรรค์
รูปแบบการเก็บข้อมูล XLS/XLSX
หมวดหมู่ข้อมูลตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ข้อมูลสาธารณะ
สัญญาอนุญาต License not specified
เงื่อนไขในการเข้าถึงข้อมูล ไม่มี
ภาษาที่ใช้ ไทย
ปีที่เริ่มต้นจัดทำข้อมูล (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) 2562
ปีล่าสุดที่จัดทำข้อมูล (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) 2566
การจัดจำแนก (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) ไม่มี
หน่วยวัด (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) แห่ง
หน่วยตัวคูณ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) หน่วย
วิธีการคำนวณ (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) ไม่มี
มาตรฐานการจัดทำข้อมูล (สำหรับชุดข้อมูลสถิติ) ไม่มี
ชุดข้อมูลที่มีคุณค่าสูง ไม่แสดง

มิติคุณลักษณะข้อมูลแบบเปิด

มิติคุณลักษณะข้อมูลแบบเปิด เปอร์เซ็นต์ (%)
ความถูกต้องและสมบูรณ์ (Acuracy & Compleaness) 20
ความสอดคร้องต้องกัน (Consistency) 100
ความเป็นปัจจุบัน (Timeliness) 100
ตรงตามต้องการของผู้ใช้ (Relevancy) 0
ความพร้อมใช้งาน (Availability) 60

ชุดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลสภาพภูมิอากาศบนพื้นที่สูง

ข้อมูล Data for Thai

วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 28 มกราคม 2568
.. ..
จำนวนใบอนุญาตผลิตไพ่

• เป็นรัฐวิสาหกิจไทย กรณีเป็นรัฐวิสาหกิจไทย ต้องมีวัตถุประสงค์ในการผลิตและ จำหน่ายไพ่ • เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย กรณีเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย...

วันที่ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 9 มกราคม 2568
.. .. .. ..